![]() |
|||||||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
การเลือกพาวเวอร์แอมป์ PA ระดับเทพ โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ ในวงการระบบเสียงสาธารณะหรืองานคอนเสิร์ต อุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้มัก
เรามาวิเคราะห์กันดู ความทนทานและการพยายามลดขนาดตัวเครื่อง รวมทั้งคุณภาพเสียงของพาวเวอร์แอมป์ PA เพื่อให้สมประสงค์ข้อนี้ การออกแบบมักจำกัดการใช้งานโดย
ลำโพงจะจำกัดที่ 50 – 60 Hz ถึง 20KHz ขณะที่ลำโพงไฮเอนด์จะตอบสนองได้ 30Hz (หรือต่ำกว่า 25Hz)ถึง 35KHz หรือสูงกว่า แต่ถ้าเพิ่มซับวูฟเฟอร์ ระบบ PA จะลงต่ำได้ถึง 35Hz แต่ไฮเอนด์บ้านจะถึง 25Hz (ต่ำกว่าก็พอมีแต่แพงมากๆ)
ทั้ง 6 ข้อ(ยกเว้นข้อ 3 ) ทั้งหมดบั่นทอน ทำลายคุณภาพเสียง มิติเสียง ซึ่งไม่มีทางแก้หรือกู้คืนมาได้ ไม่ว่าอุปกรณ์ใดๆ (EQ ก็ช่วยไม่ได้จริง) ขนาดกะทัดรัด วิธีการที่จะได้ขนาดที่ไม่ใหญ่โต เกะกะมาก แต่ยังให้กำลังสูง,ส่งเสียงได้ดังคับห้องก็โดย
ถ้าจะไม่ให้เสียงแข็งกร้าวก็ใส่วงจรกรองความถี่สูงทิ้งดักไว้ทางเข้าแอมป์จำกัดเสียงสูง อาจแค่ 14KHz ผลคือเสียงคลุมเครือ รายละเอียดหาย ไม่ชัดเจน อื้ออึงเหมือนไม่เข้มข้น ไม่มีแรงปะทะ (Impact ไม่มี)
นอกจากน้ำหนักและขนาดที่ลดลงอย่างมาก ใช้ครีบระบายความร้อนน้อยแทบไม่ต้องใช้พัดลมระบายอากาศในเครื่อง ราคาก็มักถูกลงมากด้วย เพราะใช้อุปกรณ์,อะไหล่,ตัวถัง ชิ้นส่วนลดลงมาก ปัจจุบันจึงเป็นที่จับตาหมายปองของวงการพาวเวอร์แอมป์ PA แม้แต่วงการเครื่องเสียงไฮเอนด์บ้านก้มีการนำ Class Dไป ประยุกต์ใช้กันมากขึ้นๆ อย่างไรก็ตาม มีคำเตือนจากวงในนักออกแบบเครื่องเสียงว่า ภาคขยาย Class D ไม่ควรให้มีเกิน 1 ภาคใน 1 ตัวถังคือ ต้องแยกเป็นโมโนพาวเวอร์แอมป์เลยมิเช่นนั้น เมื่อเร่งถึงจุดหนึ่งเสียงทั้งหมดจะเริ่มฟุ้ง น้ำหนักเสียงจะเริ่มเจือจาง มิติฟุ้ง ความเป็นตัวตนแตกสลาย (แม้แต่อินทริเกรตแอมป์ไฮเอนด์บ้านClass Dก็มีอาการเช่นนี้) นอกจากนั้น การที่ภาคขยาย Class D ต้องมีวงจรกรองสัญญาณสวิตชิ่ง (เปิด-ปิดภาคจ่ายไฟที่ต่อออกลำโพง) ความถี่สูงทิ้งก่อนไปขั้วลำโพง ทำให้เสียงแย่ลง,ทึบ,ด้าน,มิติเละ ความสามารถของภาคขยายในการหยุดการสั่นค้างของดอกลำโพงหรือค่า DF (Damping Factor)แย่ลงมาก ทำให้ภาคขยาย Class D ใช้ได้กับกับการขยายความถี่ต่ำ เช่น 200Hz ลงมาเท่านั้น ความถี่สูงกว่านี้จะถูกวงจรกรองทิ้งหมด จึงใช้ได้แต่เอาไว้ขับซับวูฟเฟอร์ (95% ของ Active Sub ใช้ภาคขยาย Class D ) อย่างไรก็ตาม 2 – 3 ปีมานี้ เราสามารถผลิตทรานซิสเตอร์ขาออกของภาคขยายให้ทำงานฉับไวขึ้นมากๆและเสถียรขึ้นมากทำให้สามารถเขยิบความถี่สูงของการสวิตชิ่ง Class D ไปที่ความถี่สูงเกินหูได้ยิน (20KHz) จนเขยิบไปกรองความถี่สูงทิ้งที่ความถี่เกินหูได้ยินได้ ทำให้สามารถตอบสนองขยายเสียงได้ 20Hz ถึง 20KHz เหมือนภาคขยายปกติได้ เรียก Full Range Class D นี่คือที่มาของความนิยมที่ระบาดไปในหมู่วงการพาวเวอร์ แอมป์ Class D ของวงการ PA ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เรื่องคุณภาพเสียงก็ยังเป็นที่ถกเถียงโดยเฉพาะมิติเสียง อีกทั้งปัญหาเรื่องคลื่นความถี่สูงที่กระจายไปในอากาศ (EMF) ที่ไปกวนภาคอื่นๆและอุปกรณ์อื่นๆในระบบ ยิ่งสวิตชิ่งที่มีความสูงมากเป็นล้านๆครั้งต่อวินาที ปัญหา EMF จะยิ่งสาหัส และการไม่ควรมีเกิน 1 ภาคขยายใน 1 เครื่องอีกด้วย ก็น่าจะมาจากปัญหาทั้ง RF และ EMF ระหว่าง 2 ภาคขยาย (2-CH)
ข้อดีของดิจิตอลแอมป์ก็คือ
ดิจิตอลแอมป์จะช่วยในการจัดระบบลำโพง PA ง่ายขึ้นอีกมาก ในอนาคตสามารถอัพเกรดได้ตลอดเวลา ผ่านระบบซอฟแวร์ สามารถวางระบบการขยายเสียงเป็นแบบ net-work สามารถสั่งหรือโปรแกรมให้พาวเวอร์ แอมป์ ch ไหนทำงานอย่างไรก็ได้จากศูนย์รวม และมีการแจ้งสถานะของภาคขยายนั้นๆว่าถูกสั่งอย่างไร วงจร มีปัญหาอะไรไหม แจ้งกลับมายังศูนย์ได้ ทำให้รู้สถานการณ์ของทั้งระบบได้ตลอดเวลา เชื่อว่าดิจิตอลพาวเวอร์แอมป์จะมาแน่ และใช้อย่างแพร่หลายในระบบ PA ในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน (เช่นเดียวกับเครื่องเสียงบ้านระดับปกติ และระดับไฮเอนด์ที่เริ่มคืบคลานเข้าไปแล้ว) เพราะมันเหมาะกับ PA ยิ่งกว่าเครื่องเสียงบ้านเสียอีก ด้วยประการทั้งปวงไม่แต่เรื่องขนาด,น้ำหนักที่ลดลงมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ เทียบกับพาวเวอร์แอมป์อนาล็อก Class AB ปกติ ดิจิตอลแอมป์อาจจะมีขนาดแค่ 1 ใน 10...!!! และเมื่อผลิตเยอะราคาจะถูกลง ไม่ต่ำกว่า 3 เท่าขึ้นไป อย่างไรก็ตามในแง่คุณภาพเสียง.มิติเสียง ดิจิตอลแอมป์ปราบยากกว่ามากที่จะให้ได้เสียงที่น่าฟัง แต่เมื่อปราบได้สัก 1 เครื่องก็สามารถใช้กิริยาเดียวกันในการปราบเครื่องรุ่นเดียวกันนี้ต่อๆไปซึ่งง่ายกว่าปราบอนาล็อกแอมป์เครื่องต่อเครื่อง ปัญหามักต่างกันไปแม้รุ่นเดียวกัน ดิจิตอลแอมป์ PA ระดับพื้นๆจะไปในแนวทางการขายความคล่องตัวในการจัดระบบเพิ่มซอฟแวร์ขนาดเบา กะทัดรัด ราคาไม่สูงมาก แต่สุ้มเสียง มิติ น่าจะเอานิยายอะไรไม่ได้ แค่ดังอย่างเดียว ขณะที่ดิจิตอลแอมป์ PA เกรด A จะเสียงดีด้วย อัพเกรดได้คล่องตัว มีซอฟแวร์ให้เพิ่มปรับปรุงเยอะ ขนาดเบากะทัดรัด แต่ราคาไม่ถูกนัก แต่ปัญหาที่จะนึกไม่ถึงคือ ดิจิตอลแอมป์เกรด A ยิ่งทำดีแค่ไหน ตัวมันเองจะยิ่งเป็นกลางไม่มีบุคลิกเสียงส่วนตัวใดๆ ดังนั้น มันจะชี้ฟ้องสุดลิ่มทิ่มประตูต่อการจัดชุด การ set up ระบบที่ชุ่ยๆทั้งอุปกรณ์,ผลิตภัณฑ์,แหล่งรายการที่มาใช้คู่กับมัน รวมทั้งอะคูสติกด้วย ระวังให้ดีๆนักจัดระบบหูตะกั่ว มือไม่ถึงจริงทั้งหลายหมดที่หลบภัยแล้ว...! อีกกรณีหนึ่งคือ ดิจิตอลแอมป์จะอ่อนไหวต่อสิ่งเร้าภายนอกโดยเฉพาะระบบไฟ AC ที่มีสัญญาณรบกวน (Interference) ไม่สะอาดมีการปิด-เปิดสวิทซ์เครื่องอื่นๆในระบบ อ่อนไหวต่อคลื่นวิทยุกวนภายนอก (RF) เช่น มือถือ,รีโมท,Wi-Fi, PC, โน้ตบุ๊ค,จอ LCD อาจไม่มีเสียงกวนออก แต่คุณภาพเสียงจะแย่ลง (ถอย,จม,แบน, มิติฟุ้ง ,ความเป็นตัวตนเบลอ,ปลายแหลมนำ (จัดจ้าน)) ทำนองเดียวกัน มันก็จะส่งคลื่นดิจิตอลความถี่สูงไปกวนอุปกรณ์ ใกล้เคียง (ปรี, mixer,เครื่องเล่น ฯลฯ)รับรองว่าเล่นกับดิจิตอลแอมป์ “ไม่หมู” อย่างที่หลายคนวาดฝันเอาไว้ www.maitreeav.com |